ค่านิยม12ประการ

ค่านิยม12ประการ

1.       ความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
เช่น การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความสำนึกและภาคภูมิใจความเป็นไทยปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ  และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2.      ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน  มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
เช่น การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกต้อง  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น  ละความเห็นแก่ตัว  รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือสังคมและบุคคลที่ควรให้  รู้จักควบคุมตัวเองเมื่อประสบกับความยากลำบากและสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
3.      ตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
เช่น  การประพฤติที่แสดงถึงการรู้จักบุญคุณ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน  แสดงความรัก  ความเคารพ  ความเอาใจใส่  รักษาชื่อเสียง  และตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่  ผู้ปกครอง  และครูอาจารย์
4.      ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
เช่น การประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตั้งใจเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียน  แสวงหาความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5.      รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
เช่นรปฏิบัติตนที่แสดงถึงการเห็นคุณค่า  ความสำคัญ  ภาคภูมใจ  อนุรักษ์  สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีไทยอันดีงาม
6.      มีศีลธรรม  รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
เช่น  การประพฤติปฏิบัติตน  โดยยึดมั่นในคำสัญญา  มีจิตใจโอบอ้อมอารี  ช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่ช่วยได้  ทั้งกำลังทรัพย์  กำลังกาย  และกำลังสติปัญญา
7.      เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
เช่น การแสดงถึงการมีความรู้  ความเข้าใจ  ปฏิบัติตนตามหน้าที่และสิทธิของตนเอง  เคารพสิทธิของผู้อื่นภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 
8.      มีระเบียบวินัย  เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
เช่น  การปฏิบัติตนตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์  ระเบียบ  ข้อบังคับ  และกฎหมายไทย  มีความเคารพและนอบน้อมต่อผู้ใหญ่
9.      มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ  รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เช่น
     การประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีสติรู้ตัว  รู้คิด  รู้ทำอย่างรอบคอบ  ถูกต้องเหมาะสม  และน้อมนำ
     พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต 
10.  รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เช่น
  การดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  มีความรู้  มีคุณธรรม  และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
11.  มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอายเกรง
กลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
เช่น
   การปฏิบัติตนให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย  และมีจิตใจที่เข้มแข็ง  มีความละอาย
     เกรงกลัวต่อบาป  ไม่กระทำความชั่วใด ๆ ยึดมั่นในการทำความดีของศาสนา
12.  คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
เช่น
  การปฏิบัติตนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  และประเทศชาติ  ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

10.ระดับของสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ ตอนที่ 3 ระดับของสารสนเทศ             สารสนเทศรอบตัวเราที่มีอยู่มากมายอาจไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ กับท...